วัฒนธรรมอาเซียน (ลาว)


        ประเทศลาว เป็น 1 ใน 10 ประเทศอาเซียน โดยเข้าร่วมประชาคมอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางกลางว่า สาธารณรัฐประชาชนลาว เป็นประเทศที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นประเทศที่ไม่มีเนื้อที่ติดทะเลเลย มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนหลายประเทศ โดยทางทิศเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศจีน ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศพม่า ทางทิศตะวันออกมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเวียดนาม นอกจากประเทศที่กล่าวมายังมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทยของเราในทิศตะวันตกอีกด้วยโดยถูกกั้นโดยแม่น้ำโขงในบางช่วง นอกจากนี้ชุดประจำชาติอาเซียนของลาวยังมีส่วนคล้ายชุดประจำชาติอาเซียนของเราอีกด้วย
งานประเพณีในประเทศลาว


      ใน 1 ปี ประเทศลาวจะมีประเพณีสำคัญๆตลอดปี เพราะประเทศลาวนั้นประกอบไปด้วยวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายมาก และแต่ละอย่างเป็นประเพณีที่หลากหลาย เรียกว่า ฮีต 12 ครอง 14 ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่คนลาวนับถือมานานนับตั้งแต่อดีต
มาเริ่มกันที่ ฮีต 12โดยคำว่าฮีต แปลว่า จารีตประเพณีส่วนคำว่า 12 ในที่นี้หมายถึง 12 เดือนในรอบ 1 ปี โดยในแต่ละเดือนจะจัดงานบุญที่แตกต่างกันไปตามนี้
1. เดือนเจียง(ช่วงเดือนธันวาคม) บุญเข้ากรรม เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อให้พระภิกษุ สงฆ์ ผู้ต้องอาบัติขั้นสังฆาทิเสส ได้เข้าพิธีกรรมปลงอาบัติด้วยการอยู่ในเขตที่จำกัด เพื่อที่จะได้ชำระจิตใจให้ขาวสะอาด
2. เดือนยี่(หลังฤดูเก็บเกี่ยว) บุญคูนลาน ในช่วงเวลาหลังเก็บเกี่ยวก่อนที่ชาวบ้านจะนำข้าวเข้าไปเก็บในยุ้งฉาง จะมีการนิมนต์พระมาสวด เพื่อความเป็นสิริมงคล เจริญรุ่งเรือง
3. เดือนสาม (หลังวันมาฆบูชา) บุญข้าวจี่ ชาวบ้านชาวนาจะนำข้าวจี่ซึ่งก็คือข้าวเหนียว นำไปเสียบด้วยไม้ แล้วย่างจากนั้นก็นำไข่ที่ตีแล้วมาทาให้มั่วย่างจนสุก แล้วถอดไม้ออกสอดไส้ตรงกลางแทนด้วยน้ำตาลอ้อย นำไปถวายพระสงฆ์หลังจากที่หมดช่วงฤดูเก็บเกี่ยวไปแล้ว
4. เดือนสี่(เดือนมีนาคม) บุญพระเวส เป็นงานบุญมหาชาติ ชาวบ้านจะช่วยกันประดับตกแต่งโรงธรรมด้วยดอกไม้ และนอกจากนี้ยังมีการจัดขบวนแห่บุญพระเวส
5. เดือนห้า(ช่วงสงกรานต์) บุญสงกรานต์ นับเป็นบุญที่ใหญ่ที่สุดของคนลาว จัดติดต่อกันหลายวันเหมือนสงกรานต์ในประเทศเรา มีการประกวดนางสงกรานต์อีกด้วย
6. เดือนหก(ก่อนฤดูทำนา) บุญบั้งไฟ เชื่อกันว่าถ้าหากปีใดไม่ทำบุญบั้งไฟจะเกิดแต่เหตุการณ์ไม่ดีๆ การำบุญบั้งไฟก็จะเหมือนกับภาคอีสานบ้านเราแหละครับ เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
7. เดือนเจ็ด(เดือนมิถุนายน) บุญซำฮะ เป็นงานเล็กเพื่อจัดการปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีๆ ให้ออกจากบ้านเมือง ให้บ้านเมืองประสบพบเจอแต่สิ่งดีๆ
8. เดือนแปด(ขึ้น15ค่ำเดือน8) บุญเข้าพรรษา เหมือนประเทศของเรา เป็นการที่พระสงฆ์จำวัดเป็นเวลา 3 เดือน จะมีการทำบุญตามวัดต่างๆ
9. เดือนเก้า(เดือนสิงหาคม) บุญห่อข้าวประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่อ แพร่บุญกุศลให้แต่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บรรพบุรุษ แหละวิญญาณไร้ญาติเพื่อมารับส่วนบุญ ขาวบ้านก็จะนำ อาหารคาว อาหารหวาน บุหรี่ หมากพลู ใส่ใบตองไปวางไว้ตามพื้นดิน
10. เดือนสิบ(ขึ้น15ค่ำเดือน10) บุญข้าวสลาก เป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ห่างจากงานของเดือนเก้า 15 วัน
11. เดือนสิบเอ็ด(ขึ้น15ค่ำเดือน11) บุญออกพรรษา มีเข้าพรรษาก็ต้องมีออกพรรษา หลังจากเข้าพรรษาครบ 3 เดือน จะมีการตักบาตรเทโว มีการจัดอาหารไปถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร
12. เดือนสิบสอง(แรม1ค่ำเดือน11-วันเพ็ญเดือน12) บุญกฐิน เป็นการถวายผ้าแด่พระสงฆ์ ที่เข้าพรรษามาเป็นเวลา 3 เดือน

มาต่อกันที่ ครอง 14 หมายถึงข้อกำหนด ข้อควรปฏิบัติทั้ง 14
1. ไม่เดินเหยียบเงาพระสงฆ์
2. ไม่นำอาหารเหลือไปถวายพระ
3. ไม่มีเพศสัมพันธ์ในวันพระ, วันมาฆบูชา, วันเข้าพรรษา, วันบุญสงกรานต์ และวันวิสาขบูชาโดยเด็ดขาด
4. ถ้ามีพระสงฆ์เดินผ่าน ต้องนั่งลงละพนมมือไหว้
5. ถ้าเข้าวัดต้องเตรียม ดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมเครื่องอัตถบริขารไปถวายพระสงฆ์
6. ก่อนจะเข้านอนต้องล้างเท้า และอาบน้ำก่อน
7. ในวันพระให้ใส่บาตร หรือไม่ก็นิมนต์พระมาทำบุญที่บ้าน
8. ในวันพระที่เป็นข้างขึ้น ให้จัดพานดอกไม้ธูปเทียนขอขมาสามีของตัวเอง
9. เวลาตักบาตร ต้องรอพระท่านเดินมาถึงหน้าบ้านก่อน เวลาตักห้ามโดนบาตร ขณะตักห้ามสวมรองเท้า หมวก ผ้าคลุมหัว และอาวุธ
10. ในวันพระให้ขอขมา เตาไฟ ประตูเรือน และขั้นบันได ที่อาศัยอยู่
11. ก่อนเข้าบ้านต้องล้างเท้าก่อน
12. ถ้าวัดไหน บ้านไหนไม่มีรั้วกั้นให้มิดชิด ก็ให้ช่วยกันสร้าง
13. เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว ให้นำผลผลิตแรกไปถวายพระก่อน
14. ต้องประพฤติตนให้เป็นคนดีของสังคม


ชุดประจำชาติอาเซียน

ชุดประจำชาติอาเซียน (ลาว)
       ผู้ชายประเทศลาวมักแต่งกายแบบสากลๆ หรือไม่ก็นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุม 7 เม็ด คล้ายกับชุดประจำชาติอาเซียน ประเทศไทยเรานั่นเอง ส่วนผู้หญิงประเทศลาวมักนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก

Credit : http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_laos3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น